Select Page

หลักสูตรกลยุทธ์การลงทุนศูนย์ข้อมูล รุ่นที่ 2

(Data Center Strategic Investment: DCI2)

 

การลงทุนในการสร้างหรือเช่าศูนย์ข้อมูล (CapEx) เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ
ในการดำเนินกิจกรรมขององค์กร และเป็นผลผูกพันธ์ระยะยาว
ในงบการดำเนินการ (OpEx) การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล
ที่ถูกต้องแม่นยำและทันตามบริบทของเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และคู่แข่ง

Key Highlights:

    • เรียนรู้กลยุทธ์การลงทุนในศูนย์ข้อมูล
    • เข้าใจปัจจัยสำคัญในการเลือกที่จะสร้างหรือเช่าศูนย์ข้อมูล
    • วิเคราะห์ความเหมาะสมทางธุรกิจในการเลือกระดับ Tier ของศูนย์ข้อมูลให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกรรมขององค์กร
    • วิเคราะห์ข้อจำกัดในการลงทุน ความเสี่ยงทางธุรกิจ และผลกระทบในการบริหารและปฏิบัติการศูนย์ข้อมูลในระยะยาว
    • ศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานชั้นนำ ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษากลยุทธ์ในการลงทุน และการวิเคราะห์บริบทและปัญหาหรือข้อได้เปรียบในการได้มาซึ่ง Total Cost of Ownership (TCO) และการได้รับการรับรองมาตรฐานของศูนย์ข้อมูล (Data Center Certification)

หลักการและเหตุผล

          แนวการวิเคราะห์กลยุทธ์ในการลงทุนในศูนย์ข้อมูล (Data Center Strategic Investment) หลังจากปี 2016 จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ มากกว่าที่เคยเป็นมา นอกจากจะต้องให้ตรงตามความต้องการของกิจกรรมทางธุรกิจแล้ว ยังต้องสร้างความได้เปรียบในเชิงธุรกิจด้วย ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนใหม่ๆ ในศูนย์ข้อมูล ดังนั้นผู้ลงทุนจำเป็นต้องทราบปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ข้อจำกัดของพื้นที่ งบประมาณ ระยะเวลาในการดำเนินการและกฎข้อบังคับต่างๆ และยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ อีกไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพ เทคโนโลยีในการประหยัดพลังงานของระบบและอุปกรณ์ การรองรับการขยายตัวในอนาคต การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ต้นทุนในการดำเนินงานและซ่อมบำรุง ความพร้อมในการให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ความปลอดภัยของข้อมูล ความเชื่อมั่นในตัวระบบ ความเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม ตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานและกฎหมาย และการวิเคราะห์คู่แข่งในการดำเนินการโดยใช้ตัวแบบ 5 Forces Model (ภาคเอกชน) หรือการวิเคราะห์ SWOT (ภาครัฐ)

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้เข้าใจปัจจัยสำคัญในการลงทุนศูนย์ข้อมูล
    2. สามารถวิเคราะห์ปัจจัยทางตรง (Controlable Factors) และปัจจัยทางอ้อม (Uncontrolable Factors) ที่ส่งผลกระทบในการลงทุนได้
    3. สามารถสร้างสมการในการลงทุน TCO = CapEx + OpEx ขององค์กรท่านเอง
    4. สามารถวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารและดำเนินการศูนย์ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงการลงทุนต่อผลการดำเนินงาน ในรูปแบบของการใช้ประโยชน์พื้นที่และพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Optimization) มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และรองรับการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของธุรกิจ (Resilience) และการเติบโตตามความต้องการในอนาคตของธุรกิจ (Growth as Business Need)

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา

  1. เข้าใจปัจจัยในการกำหนดแนวคิดในการลงทุนศูนย์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
  2. มีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานองค์ประกอบงบประมาณในการลงทุนในศูนย์ข้อมูลในระบบต่างๆ
  3. มีความรู้ในหลักการพื้นฐานในปัจจัยศูนย์ข้อมูลที่จะส่งผลกระทบต่องบประมาณในการก่อสร้างและการดำเนินการในระยะยาว รวมทั้งหลักการออกแบบอย่างไรให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของธุรกิจ และรองรับการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
  4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนางบประมาณโครงการในการก่อสร้าง เช่าหรือปรับปรุงศูนย์ข้อมูล ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจหรือองค์กร
  5. ตระหนักถึงต้นทุนโดยรวมในการเป็นเจ้าของ TCO ของศูนย์ข้อมูล รวมทั้งได้ทราบถึงการประมาณต้นทุนทางตรงและทางอ้อมของระบบศูนย์ข้อมูล

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้บริหารระดับสูง หรือ ผู้กำหนดนโยบาย หรือ C-Suits (CEO/COO/CIO/CFO/CTO or CXOs)
  2. ผู้อำนวยการศูนย์ไอที/ไอซีที ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการออกแบบและบริหาร
    ศูนย์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของธุรกิจและภารกิจขององค์กร
  3. เจ้าหน้าที่ดูแลศูนย์ข้อมูลอาวุโส ที่ต้องการบริหารศูนย์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ที่ปรึกษาอาวุโสในด้านการออกแบบและการบริหารศูนย์ข้อมูล หรือที่ปรึกษาในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกลยุทธ์การลงทุนศูนย์ข้อมูลให้เป็นไปตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กรและเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานในศูนย์ข้อมูลให้มีการใช้พื้นที่และพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต รวมถึงทราบถึงกลยุทธ์ในการกำหนดระดับมาตรฐานนานาชาติของศูนย์ข้อมูลให้เหมาะสมกับประเภทและการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการออกแบบศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย ประกอบด้วยการบรรยาย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกลุ่มผู้เรียนและวิทยากร และการไปศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานชั้นนำ ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ได้แนวคิดและข้อจำกัดต่างๆ รวม 36 ชั่วโมง / 6 วันทำการ

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย 6 1
ศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานชั้นนำ ณ ประเทศญี่ปุ่น
30 5
รวม 36 6 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      • องค์ประกอบและระบบพื้นฐานและมาตรฐานศูนย์ข้อมูล
      • การวิเคราะห์องค์รวมของศูนย์ข้อมูล
      • กลุยุทธ์ในการลงทุนศูนย์ข้อมูล ภาครัฐและภาคเอกชน
      • การวิเคราะห์ปัจจัยในการลงทุน
      • การวิเคราะห์ สมการ TCO = CapEx + OpEx
      • ศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานชั้นนำ ณ ประเทศญี่ปุ่น

หมายเหตุ:

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตร วิทยากร และสถานที่ดูงาน
ตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผศ.ดร. มนตรี วิบูลยรัตน์

ผศ.ดร. มนตรี วิบูลยรัตน์

อาจารย์ประจำวิทยาลัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ กรุงเทพมหานคร
และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบศูนย์ข้อมูล

Certificate:

    • Accredited Tier Designer (ATD) from Uptime Institute, LLC.
    • Certified Service Oriented Enterprise Professional (CSOEP) from BICSI Continuing Education Credit Provider.

ระยะเวลาของหลักสูตร

    • ฝึกอบรมในประเทศ จำนวน 1 วัน
      ในวันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561
    • ศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น
      ระหว่างวันที่ 19 – 23 กุมภาพันธ์ 2561

ขั้นตอนการรับสมัคร

    • เปิดรับสมัครถึงวันที่ 12 มกราคม 2561
    • ชำระเงินค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 19 มกราคม 2561

 

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 99,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

หมายเหตุ

    • กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 19 มกราคม 2561
    • ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น ในกรณีที่มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมไม่ถึง 20 ท่าน
    • ค่าลงทะเบียนรวมอาหารกลางวันและอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน (สำหรับการฝึกอบรมในประเทศ) อาหาร 3 มื้อต่อวัน ตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด ห้องพักคู่ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงาน (สำหรับการศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น) เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • การศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น ราคาดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนตัว อาทิ ค่าทำหนังสือเดินทาง ค่าโทรศัพท์ส่วนตัว ค่าซักรีด มินิบาร์ในห้องพัก รวมถึงค่าอาหารและเครื่องดื่มที่สั่งเพิ่มนอกเหนือรายการ ค่าน้ำหนักกระเป๋าสัมภาระที่หนักเกินสายการบินกำหนด
    • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
    • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
    • หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อย 10 วันทำการ ก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
    • ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง หรือสลับกำหนดการ และ/หรือสถานที่ศึกษาดูงานได้ตามความเหมาะสม
    • ในกรณีที่ผู้เดินทางไม่สามารถรับประทานอาหารบางมื้อ และหรือไม่ศึกษาดูงานตามรายการ และ/หรือไม่ได้ทำวีซ่า ไม่สามารถขอหักค่าบริการคืนได้ เพราะการชำระค่าทัวร์เป็นไปในลักษณะเหมาจ่าย
    • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัท หรือห้างห้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดอบรม

โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส
เลขที่ 444 ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ถนนพญาไท
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

เกณฑ์การประเมินผล

ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80%
และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (บรรยงก์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page