Select Page

หลักสูตรการศึกษาดูงาน
การผลิตแบตเตอรี่มาตรฐานสากล สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รุ่นที่ 2

(Study Visit on Global Standard EV Battery Production in Thailand: SEB2)

Key Highlights:

    • สัมผัสเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ของจริงระดับมาตรฐานสากล สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
    • เรียนรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
    • เห็นโอกาสในการปรับธุรกิจให้สอดคล้องกับกระแสยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อการแข่งขันที่ได้มาตรฐานในระดับอาเซียน

หลักการและเหตุผล

          อุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตจะมุ่งสู่กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดโลกร้อน ยานยนต์สมัยใหม่จึงเน้นการผลิตยานยนต์ที่ลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์กระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญของโลก มีโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้ ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่สำคัญ ดังนั้นผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนจึงจำเป็นต้องเร่งเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และปรับการผลิตเพื่อให้ทันกับความต้องการในอนาคต และเพื่อรักษาศักยภาพในการแข่งขันของไทย อีกทั้งยังคงความเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในภูมิภาคอาเซียนไว้

 

          แบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงานหลักของยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบกับราคาส่วนใหญ่ของยานยนต์ไฟฟ้าปัจจุบันจะเป็นราคาของแบตเตอรี่เป็นหลัก และยังไม่มีการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแพร่หลายในประเทศ การผลิตแบตเตอรี่จึงมีความสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนไทย

 

          เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและนวัตกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต จึงพัฒนาหลักสูตรการศึกษาดูงานการผลิตแบตเตอรี่มาตรฐานสากลสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย (Study Visit on Global Standard EV Battery Production in Thailand: SEB) ขึ้น โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ได้มาตรฐานในระดับสากล เพื่อการขยายตลาด เพิ่มความมั่นใจในการลงทุน จากประสบการณ์เชิงประจักษ์ผ่านการศึกษาดูงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนไทย เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับตลาดยานยนต์ไฟฟ้า และมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนในภูมิภาคต่อไป

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อสัมผัสเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าของจริง ที่ได้มาตรฐานในระดับสากล
    2. เพื่อเรียนรู้ การผลิต การใช้งาน การดูแล และการใช้ทรัพยากรที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอย่างถูกวิธี
    3. เพื่อเปิดมุมมองและเห็นแนวโน้มธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และการสร้างความได้เปรียบในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าไทย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา

  1. ได้เรียนรู้และเข้าใจเทคโนโลยีกระบวนการผลิต และการใช้ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ได้มาตรฐานในระดับสากลสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเชิงประจักษ์
  2. ได้เรียนรู้และเข้าใจการใช้งาน การดูแล และการใช้ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ได้เห็นโอกาส มุมมองทางธุรกิจ และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ในการเข้าสู่ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ตลอดจนการขยายโอกาสการลงทุนในอนาคต

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้ประกอบการรายย่อยในอุตสาหกรรมยานยนต์ และแบตเตอรี่
  2. ผู้ประกอบการ SMEs ที่เกี่ยวข้อง เช่น อู่ซ่อมและดัดแปลงรถ
  3. คณาจารย์และบุคคลที่สนใจ

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนของยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วยการบรรยาย และเน้นการศึกษาดูงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า รวมจำนวน 8 ชั่วโมง/1 วันทำการ ดังนี้

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย 2.5 0.30
ศึกษาดูงานการผลิตแบตเตอรี่ในโรงงานและ การประกอบรถโดยสารไฟฟ้า
5.5 0.70
รวม 8 1 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

การบรรยาย และกรณีศึกษา

      • ภาพรวมเทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน โดย นักวิจัย สวทช.

การศึกษาดูงาน

      • บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
        เป็นผู้นำการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแบบครบวงจร ซึ่งมีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน (First Gigafactory in ASEAN) ณ นิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ ต. เขาดิน อ. บางปะกง จ. ฉะเชิงเทรา
      • บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด
        เป็นสายการประกอบรถโดยสารไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุด (Bus EV) ซึ่งออกแบบและผลิตโดยคนไทย 100% โดยนำเทคโนโลยี DC Fast Charge ที่ทันสมัยที่สุดมาออกแบบให้เหมาะกับการใช้งาน ด้วยเวลาการชาร์จที่สั้นที่สุดและประหยัดพลังงาน ณ นิคมอุตสาหกรรมบ้านโพธิ์ ต.คลองประเวศ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบกักเก็บพลังงาน: แบตเตอรี่

วันที่ฝึกอบรม

อบรมวันที่ 27 มีนาคม 2567 (รวมระยะเวลา 1 วัน)
“ผู้เข้าอบรมต้องแสดงผลตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม”

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 6,500​ บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
*เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายเหตุ

    • กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2567
    • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
    • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
    • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
    • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
    • หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน

สถานที่จัดอบรม

โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81898 (ฉวีวรรณ)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400