หลักสูตรฝึกอบรม
การพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง รุ่นที่ 12
(วศร.12)
(Railway Engineering Training Course: REN12)
Key Highlights
-
- เป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้ด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางอย่างครบทุกแง่มุม ทั้งด้านนโยบาย เทคนิค และการบริหารจัดการ
- มุ่งเน้นการให้ความรู้และประสบการณ์ที่ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำไปปฏิบัติและปรับใช้ได้จริง
- ศึกษาดูงานเทคโนโลยีระบบรางและการบริหารจัดการระบบขนส่งทางรางที่ทันสมัย ณ ประเทศญี่ปุ่น
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญระดับประเทศ
- เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและผู้มีความรู้ด้านระบบรางจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศอย่างยั่งยืน
- เป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้ด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางอย่างครบทุกแง่มุม ทั้งด้านนโยบาย เทคนิค และการบริหารจัดการ
หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศเพื่อให้การพัฒนาระบบขนส่งทางรางเป็นไปอย่างยั่งยืน เช่น การก่อสร้างรถไฟฟ้า ระยะแรกนำเข้าเทคโนโลยีทั้งหมด ระยะที่สองนำเข้าเฉพาะเทคโนโลยีหลักที่สำคัญ เช่น ตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ สำหรับส่วนอื่นที่สามารถประกอบเองได้ภายในประเทศ เช่น อะไหล่บางประเภท งานโยธา เหล่านี้ ให้ใช้วัสดุในประเทศ จนถึงระยะสุดท้ายที่สามารถผลิตเองภายในประเทศได้ทั้งหมด เพื่อที่จะสร้างห่วงโซ่อุปทานให้มีรายได้ทุกภาคส่วนการผลิต รวมถึงเป็นการส่งเสริมเรื่องอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะบุคลากร เทคโนโลยี และการผลิต ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง และอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของระบบขนส่งทางรางในอนาคต และเป็นการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวอย่างมีบูรณาการ สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต (Career for the Future Academy: CFA) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบขนส่ง ทางราง โดยความสำคัญและความจำเป็นในการดำเนินการอยู่ภายใต้หลักการและเหตุผล 2 ส่วนหลัก ดังนี้
-
-
- เพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านการพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศ
- เพื่อยกระดับความสามารถของประเทศไทยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางราง
- เพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านการพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศ
-
วัตถุประสงค์
- เพื่อขยายฐานความรู้เรื่องระบบขนส่งทางรางให้ครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลเป้าหมาย นักวิชาการ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้สนใจเรียนรู้เรื่องระบบขนส่งทางราง
- เพื่อปูพื้นความรู้เรื่องระบบขนส่งทางรางแก่กลุ่มผู้นำทางความคิดของประเทศ ซึ่งสามารถจะนำไปขยายผลให้เกิดการเรียนรู้เรื่องระบบขนส่งทางรางในวงกว้าง
- เพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องระบบขนส่งทางรางของประเทศโดยสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการค้นคว้าวิจัยต่างๆ
- เพื่อจัดทำฐานข้อมูลผู้มีความรู้ด้านระบบขนส่งทางราง
- สร้างเครือข่ายบุคลากรที่มีความรู้เทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง ทั้งหน่วยงานด้านนโยบาย หน่วยงานเจ้าของโครงการรถไฟฟ้า หน่วยงานเดินรถ สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม ที่จะร่วมกันทำงานในด้านต่างๆ ของระบบขนส่งทางรางอย่างมีบูรณาการ เพื่อการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้ยั่งยืนด้วยตนเองโดยพึ่งพาต่างชาติน้อยลงในอนาคต และมีเป้าหมายให้เกิดอุตสาหกรรมการประกอบหรือผลิตรถไฟโดยใช้วิศวกร ช่างฝีมือที่เป็นคนไทย และชิ้นส่วนที่ผลิตได้ในประเทศไทย
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
- ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางราง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ฯลฯ
- ผู้ประกอบการเดินรถไฟและเครือข่ายในด้านการขนส่งระบบราง
- ภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนรถไฟ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตกระแสไฟฟ้า บริษัทที่ปรึกษา ฯลฯ
- ภาคการศึกษา มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยด้าน
งานวิศวกรรมต่างๆ
ขั้นตอนการรับสมัคร
- เปิดรับสมัครถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2568
- ผู้สมัครต้องกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มใบสมัคร
ส่งให้กับ สวทช. เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือก - คัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรมโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการระบบรางฯ
- ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมอบรม
วันที่ 26 พฤษภาคม 2568 - ชำระเงินค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2568
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรี สาขา วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยงข้องกับระบบขนส่งทางราง
- ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางราง ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านระบบขนส่งทางราง
- สามารถ ฟัง พูด อ่าน ภาษาอังกฤษ ได้ดี
- พร้อมให้ความร่วมมือกับ สวทช. และสวทน. ในการพัฒนาระบบรางของประเทศ
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบขนส่งทางราง ทั้งด้านนโยบาย เทคนิค และการบริหารจัดการ ประกอบด้วย การบรรยาย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ รวม 144 ชั่วโมง/24 วันทำการ ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
บรรยาย และเสวนา | 54 | 9 |
ประชุมเชิงปฏิบัติการ | 24 | 4 |
บรรยาย ประชุมเชิงปฏิบัติการ และศึกษาดูงาน | ||
• ในประเทศ | 24 | 4 |
• ต่างประเทศ (ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) | 42 | 7 วัน 5 คืน |
รวม | 144 | 24 วันทำการ |
เนื้อหาวิชา ประกอบด้วย
หมายเหตุ:
-
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตร วิทยากร และสถานที่ดูงาน ตามความเหมาะสม เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- กำหนดการเดินทางต่างประเทศอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับการ
ประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประเทศไทย - ผู้เข้ารับการอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตร วิทยากร และสถานที่ดูงาน ตามความเหมาะสม เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
วันที่ฝึกอบรม
ระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 21 สิงหาคม 2568
(ฝึกอบรมทุกพฤหัสบดีและวันศุกร์ เวลา 09.00 – 16.30 น.)
กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ และศึกษาดูงาน
ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
จำนวน 7 วัน 5 คืน (ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2568)
ศึกษาดูงานเรื่อง
-
-
- Rolling Stock
- Railway Electrification
- Operation & Maintenance
- Transit Oriented Development
- Railway Logistics
- Training Facilities & Training Simulation
- Railway Technical Research
- Rolling Stock
-
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 135,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
*เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ
-
- เปิดรับลงทะเบียนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2568
- ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมอบรม
วันที่ 26 พฤษภาคม 2568 - กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2568
- ค่าลงทะเบียนมีรายละเอียด ดังนี้
- รวมอาหารกลางวันและอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน สำหรับการฝึกอบรมและดูงานในประเทศ
- รวมอาหาร 3 มื้อต่อวัน ตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด ห้องพักคู่ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานสำหรับการศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น
- เอกสารประกอบการอบรม
- รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
- รวมอาหารกลางวันและอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน สำหรับการฝึกอบรมและดูงานในประเทศ
- การศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น ราคาดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนตัว อาทิ ค่าทำหนังสือเดินทาง ค่าโทรศัพท์ส่วนตัว ค่าซักรีด มินิบาร์ในห้องพัก รวมถึงค่าอาหารและเครื่องดื่มที่สั่งเพิ่มนอกเหนือรายการ ค่าน้ำหนักกระเป๋าสัมภาระที่หนักเกินสายการบินกำหนด
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 10 วันทำการ ก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าวทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง หรือสลับกำหนดการ และ/หรือสถานที่ศึกษาดูงานได้ตามความเหมาะสม
- ในกรณีที่ผู้เดินทางไม่สามารถรับประทานอาหารบางมื้อ และหรือไม่ศึกษาดูงานตามรายการ และ/หรือไม่ได้ทำวีซ่า ไม่สามารถขอหักค่าบริการคืนได้ เพราะการชำระค่าทัวร์เป็นไปในลักษณะเหมาจ่าย
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
- เปิดรับลงทะเบียนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2568
สถานที่จัดฝึกอบรม
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81894 (นพมล)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS