Select Page

หลักสูตรนักจัดการพลังงานรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2

 (New Energy Wave Leader: NEW2)

หลักการและเหตุผล

          สืบเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานของประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องจัดหาแหล่งพลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ โดยในแต่ละปีประเทศไทยต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดหาพลังงาน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ต้องสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ จำเป็นต้องมีแนวทางการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนอื่นที่ได้จากธรรมชาติภายในประเทศให้มากขึ้น

 

          เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายข้างต้น จำเป็นจะต้องมีแผนปฏิบัติการด้านพลังงานของแต่ละหน่วยงานทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยแผนปฏิบัติการด้านพลังงานจะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ โดยการจัดทำแผนด้านพลังงานดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้และมีวิสัยทัศน์ด้านการบริหารจัดการพลังงานทั้งในรูปของพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการใช้เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างเหมาะสม และหลังจากที่ได้แผนปฏิบัติการด้านพลังงานแล้ว จะต้องมีความสามารถในการประเมินความคุ้มค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการบริหาร จัดการพลังงาน โดยการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และสามารถนำเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนให้เหมาะสมกับขีดจำกัดต่างๆ ขององค์กรของตนเองได้

 

          สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาหลักสูตร “นักจัดการพลังงานรุ่นใหม่ (New Energy Wave Leader: NEW)” ขึ้นเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนภายในองค์กร และการนำความรู้ที่ได้ไปสร้างนโยบายขององค์กรตน เพื่อนำไปสู่การจัดการพลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างเหมาะสม และนำไปสู่การพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนต่อไป

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับความสำคัญของพลังงานต่อการดำเนินชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดหาพลังงานในรูปแบบต่างๆ และกระตุ้นความสนใจในการวิเคราะห์แนวทางเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในอนาคต
    2. เพื่อเปิดโลกทัศน์ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนของผู้บริหารให้สามารถแนะนำหรือกำหนดนโยบายให้กับองค์กรได้อย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา​

  1. เข้าใจถึงสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบันของประเทศไทยและระดับนานาชาติ เพื่อนำไปใช้ประเมินความเสี่ยงในการบริหารจัดการพลังงานขององค์กร
  2. ได้ศึกษาพื้นฐานของการจัดการพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนขององค์กร ทราบที่มาของปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวทางการปรับปรุงที่เป็นไปได้ และนำไปใช้กำหนดนโยบายด้านพลังงานขององค์กร
  3. ได้มีส่วนร่วมในแบ่งปันประสบการณ์ปัญหาด้านพลังงาน และแนวทางการแก้ไขปัญหาขององค์กรของตนเอง กับองค์กรอื่นและผู้เชี่ยวชาญ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  1. ผู้บริหารระดับสูง (CEO), CFO, COO, หรือคณะกรรมการการจัดการพลังงานขององค์กร
  2. ผู้อำนวยการ/ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม/ฝ่ายจัดการพลังงานของอาคารและสถานที่/ฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
  3. ผู้อำนวยการ/ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ/ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร
  4. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม
  5. ผู้สนใจด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์พลังงาน

โครงสร้างหลักสูตร

          ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานของโลก ของประเทศไทย พลังงานสำรองของโลกของประเทศ ความยั่งยืนของแหล่งพลังงาน แนวโน้มการใช้พลังงานของโลกและของประเทศ ยุทธศาสตร์พลังงานของกระทรวงพลังงานประเทศไทย ประกอบกับสิทธิและข้อได้เปรียบของการมีระบบจัดการพลังงานขององค์กร ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการบริหารจัดการด้านพลังงานขององค์กร เช่น หลักการการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐาน ISO 50001 และ หลักการประเมิน Energy Footprint ซึ่งเป็นเครื่องมือสากลที่ใช้ในการดำเนินการจัดการด้านพลังงาน เนื้อหาในส่วนหลังของหลักสูตรจะเสริมในเรื่องการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทางเลือกโดยมีเป้าหมายให้ผู้รับการอบรมสามารถกำหนดนโยบายขององค์กรในการนำพลังงานทางเลือกต่างๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงลักษณะข้อดีและข้อเสียของพลังงานทดแทนประเภทต่างๆ งบประมาณการลงทุน และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยรับฟังแนวคิด และประสบการณ์จากวิทยากรผู้มีวิสัยทัศน์ ทั้งในส่วนของภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ นักวิชาการ และภาครัฐ ซึ่งมีหัวข้อหลักของหลักสูตร ดังนี้​

      1. นักจัดการพลังงานรุ่นใหม่
      2. สถานการณ์พลังงาน นโยบาย และยุทธศาสตร์การจัดการพลังงานและพลังงานทดแทนของโลกและประเทศไทย
      3. สิทธิประโยชน์ และเศรษฐ์ศาสตร์สำหรับการอนุรักษ์พลังงาน
      4. ข้อมูลจากผู้สนับสนุนเงินทุนและผู้ให้สิทธิประโยชน์ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
      5. เครื่องมือในการบริหารและจัดการพลังงาน (Energy Management Tools)
      6. กะเทาะเปลือกพลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน(Renewable/Alternative Energy)
      7. ถ่ายทอดประสบการณ์ “การจัดการพลังงาน” จากนักจัดการพลังงานรุ่นใหม่

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและพลังงานทางเลือก ผู้มีส่วนในการวางนโยบายด้านพลังงานของประเทศ และผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์เรื่องการบริหารจัดการพลังงานภายในองค์กร

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2557
ตลอดระยะเวลา 2 วัน ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี
และฝึกปฏิบัติการ รวมจำนวนชั่วโมงทั้งหมด 14 ชั่วโมง

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 8,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

หมายเหตุ

  • กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 13 มิถุนายน 2557

เกณฑ์การประเมินผล

ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

สถานที่จัดสัมมนา

โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพสำหรับการจัดฝึกอบรมและการศึกษา ISO 10015​

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page