Select Page

หลักสูตรเทคโนโลยีน้ำหนักเบา
และการบูรณาการในยานพาหนะสมัยใหม่
รุ่นที่ 3

 (Lightweight Technology and Integration Design for
Next Generation Vehicles: LWV)

Key Highlights

    • เข้าใจแนวโน้มเทคโนโลยีน้ำหนักเบาสำหรับยานพาหนะสมัยใหม่
    • เรียนรู้การบูรณาการเทคโนโลยีน้ำหนักเบาในการออกแบบและผลิตยานพาหนะสมัยใหม่
    • พบกับกรณีศึกษาจริงจากผู้ประกอบการชั้นนำในภาคอุตสาหกรรมยานพาหนะสมัยใหม่
    • แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้ประกอบการตัวจริงด้านการออกแบบและผลิตยานพาหนะน้ำหนักเบา
    • ได้สัมผัสชิ้นงานที่ทำจากวัสดุน้ำหนักเบาของจริง

หลักการและเหตุผล

          ปัจจุบัน ทิศทางการพัฒนายานพาหนะสมัยใหม่ (Next Generation Vehicles) กำลังมุ่งไปสู่ยานพาหนะที่มีน้ำหนักเบา มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากยานพาหนะที่มีน้ำหนักเบาจะทำให้สมรรถนะในการขับเคลื่อนของยานพาหนะดีขึ้น ใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนน้อยลง ทำให้ช่วยลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิง และลดปริมาณการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม

 

          ในการลดน้ำหนักของยานพาหนะ ผู้ประกอบการได้ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา แต่ยังคงมีคุณสมบัติและสมรรถนะไม่ด้อยไปกว่าเดิม เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ มีการใช้เหล็กกล้าทนแรงดึงสูงพิเศษ (Ultra-High Strength Steels/UHSS) แทนเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steels) ทำให้สามารถใช้แผ่นเหล็กที่มีความหนาลดลง น้ำหนักเบาขึ้น แต่ยังคงรักษาสมบัติทางกลให้เทียบเท่าของเดิมได้ หรือการเปลี่ยนมาใช้โลหะผสมน้ำหนักเบาชนิดอื่น เช่น อะลูมิเนียม หรือ แมกนีเซียม ซึ่งมีค่าสัดส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูงกว่าเหล็กกล้าคาร์บอน หรือการใช้วัสดุน้ำหนักเบาหลากหลายชนิดร่วมกัน (Multi-materials) เช่น คาร์บอนไฟเบอร์คอมโพสิต อะลูมิเนียมอัลลอย แมกนีเซียมอัลลอย พลาสติกคอมโพสิท เป็นต้น ในอุตสาหกรรมการบิน มีการนำวัสดุคอมโพสิตคาร์บอนไฟเบอร์มาใช้เพื่อผลิตส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องบิน ทำให้เครื่องบินสมัยใหม่มีน้ำหนักเบาลง แต่กลับมีความแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิม หรือแม้แต่การผลิตเรือโดยสารไฟฟ้าที่ทำจากอะลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบา แต่รับแรงกระแทกได้สูง ไม่จมน้ำ ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

 

          นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะสมัยใหม่ให้มีน้ำหนักเบาและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น เทคโนโลยีวัสดุ เทคโนโลยี AI ออกแบบชิ้นส่วนสามมิติ เทคโนโลยีการคำนวณ เทคโนโลยี 3D Printing เทคโนโลยีการผลิตแม่พิมพ์และการขึ้นรูปชิ้นส่วนยานพาหนะน้ำหนักเบา เทคโนโลยีการเชื่อมประสานและการประกอบ ก็จะเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน

 

           สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้และยกระดับศักยภาพในการผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ของประเทศไทย จึงได้พัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีน้ำหนักเบาและการบูรณาการในยานพาหนะสมัยใหม่ (Lightweight Technology and Integration Design for Next Generation Vehicles: LWV) ขึ้น เพื่อพัฒนาบุคลากรและกำลังคนด้านยานพาหนะและชิ้นส่วนของไทยให้มีองค์ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีน้ำหนักเบา (Lightweight Technology) และการบูรณาการเทคโนโลยีน้ำหนักเบาในการออกแบบและผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับอุตสาหกรรมยานพาหนะสมัยใหม่และชิ้นส่วนได้สามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรม รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูงทัดเทียมระดับสากล และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไทย จนนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีต่อไปในอนาคต

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีน้ำหนักเบา (Lightweight Technology) และวัสดุน้ำหนักเบาที่ใช้ในการผลิตยานพาหนะสมัยใหม่
    2. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีน้ำหนักเบาในการออกแบบและผลิตยานพาหนะสมัยใหม่
    3. เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมยานพาหนะและชิ้นส่วน เพื่อการพัฒนาต่อยอดสู่การผลิตยานพาหนะสมัยใหม่

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีน้ำหนักเบาและวัสดุน้ำหนักเบาที่ใช้ในการผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ รวมถึงการบูรณาการเทคโนโลยีน้ำหนักเบาในการออกแบบและผลิตยานพาหนะสมัยใหม่
  2. ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีน้ำหนักเบา รวมทั้ง
    ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ตรงกับการวิจัยและผลิตยานพาหนะน้ำหนักเบา
  3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดการผลิตแบบเดิมสู่การผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ได้

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้ผลิตยานพาหนะและชิ้นส่วนน้ำหนักเบา
  2. ผู้ประกอบการ/SMEs ที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนยานพาหนะน้ำหนักเบา ในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมต่อเรือไฟฟ้า อุตสาหกรรมการบิน เป็นต้น
  3. นักวิจัยด้านการพัฒนาวัสดุน้ำหนักเบาสำหรับยานพาหนะสมัยใหม่
  4. คณาจารย์ หรือที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีน้ำหนักเบาสำหรับยานพาหนะสมัยใหม่

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีน้ำหนักเบาและวัสดุน้ำหนักเบาที่ใช้ในการผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ รวมถึงการบูรณาการเทคโนโลยีน้ำหนักเบาในการออกแบบและผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ ประกอบด้วยการบรรยาย กรณีศึกษา (Case Study) และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้ประกอบการชั้นนำด้านยานพาหนะสมัยใหม่ รวมจำนวน 12 ชั่วโมง/2 วันทำการ ดังนี้

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย และกรณีศึกษา 12 2 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      • ภาพรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีน้ำหนักเบาและการออกแบบสำหรับยานพาหนะสมัยใหม่
      • แนวโน้มของชิ้นส่วนและโมดูลสำหรับยานพาหนะยุคใหม่
      • วัสดุน้ำหนักเบาและเทคโนโลยีการผลิตสำหรับยานพาหนะสมัยใหม่
      • กรณีศึกษา (1) : อะลูมิเนียมอัลลอยด์และการแปรรูปสำหรับยานพาหนะสมัยใหม่
      • กรณีศึกษา (2) : เทคโนโลยีการผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ด้วยนวัตกรรมอะลูมิเนียม
      • กรณีศึกษา (3) : เทคโนโลยีการเชื่อมโครงสร้างน้ำหนักเบาประสิทธิภาพสูงของยานยนต์ไฟฟ้า

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้ประกอบการ ด้านเทคโนโลยีน้ำหนักเบา และการออกแบบและผลิตยานพาหนะสมัยใหม่

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระยะเวลา 2 วัน
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กันยายน 2565
“ผู้เข้าอบรมต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
Covid-19 ตามมาตรการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
พร้อมผลตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 13,500 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รับส่วนลด 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 12,150 บาท
*เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายเหตุ

  • กรุณาชำระเงินภายในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565​
  • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
  • หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
  • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดฝึกอบรม

รงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ
เลขที่ 8/2 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400​

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81898 (คุณฉวีวรรณ)
          0 2644 8150 ต่อ 81891 (คุณนิพัฒน์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page