Select Page

อบรมเชิงปฏิบัติการ
เรียนรู้ สัมผัส “HPP” นวัตกรรมเทคโนโลยี
พาสเจอร์ไรส์แบบไม่ใช้ความร้อน
เพื่อโอกาสใหม่ทางธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 2

 (“HPP” Cold Pasteurization Technology for Innovative Opportunities
in Food Business: HPP2)

 

เปิดโลกทรรศน์กับการพาสเจอร์ไรส์แบบใหม่ที่ไม่ใช้ความร้อนและไม่ทำลาย
คุณค่าทางอาหารด้วยเทคโนโลยีพาสเจอร์ไรส์ความดันสูงหรือ
High Pressure Process (HPP) ที่จะมาช่วยปลดล็อคข้อจำกัด
ของผลิตภัณฑ์อาหารของคุณให้มีโอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น

 

Key Highlights

 

    • เรียนรู้และเข้าใจความสำคัญและแนวทางในการรักษาคุณค่าทางอาหารของผลิตภัณฑ์
    • เจาะลึกถึงกระบวนการและข้อจำกัดต่างๆ ของเทคโนโลยี HPP
    • ลงมือปฏิบัติจริงและสัมผัสจริงในการถนอมอาหารด้วยเครื่อง HPP ระดับห้องปฏิบัติการกับตัวอย่างอาหารประเภทต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ ผลไม้ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารทะเล เป็นต้น

หลักการและเหตุผล

          อุตสาหกรรมอาหารเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง การปรับตัวให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดจะเป็นความได้เปรียบทางการค้า ดังนั้นอุตสาหกรรมอาหารจึงต้องมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งในยุคปัจจุบันที่ผู้คนมีความต้องการการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สะดวกและรวดเร็วจึงส่งผลทำให้หลากหลายอุตสาหกรรมอาหารสนใจที่จะวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพเหมือนกับได้รับประทานอาหารที่สดใหม่ อีกทั้งยังต้องเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งถึงแม้อุตสาหกรรมอาหารจะมีกระบวนการคัดสรรและผลิตที่ช่วยรักษาคุณภาพของอาหารให้ดีแค่ไหนก็ตามก็มักจะมาประสบปัญหาในขั้นตอนสำคัญคือ การถนอมอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้นและตอบสนองต่อความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่อุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่จะใช้วิธีการถนอมอาหารแบบใช้ความร้อนซึ่งไม่เพียงแต่จะฆ่าจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียของอาหารแต่ยังทำลายคุณค่าทางอาหารไปด้วย ดังนั้นการการเรียนรู้และเข้าใจในเทคโนโลยีการถนอมอาหารแบบใหม่ เช่น การพาสเจอร์ไรส์แรงดันสูงหรือ High Pressure Process (HPP) ที่สามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหารด้วยการฆ่าจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียด้วยความดันที่สูงมากกว่าความดันที่ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาที่เป็นจุดลึกที่สุดของโลกโดยไม่ส่งผลต่อสารอาหาร จึงเป็นแนวทางใหม่แนวทางหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ตอบโจทย์ต่อผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

          ดังนั้นหากได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารและเทคโนโลยี HPP พร้อมทั้งได้ลงมือปฏิบัติจริง สัมผัสจริงในกระบวนการ HPP กับอาหารตัวอย่างประเภทต่างๆ จะทำให้ผู้เข้าฝึกอบรมเห็นภาพและเข้าใจเพิ่มมากขึ้นโดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลและตอบข้อสงสัย จึงน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ อีกทั้งยังเป็นข้อมูลในการตัดสินใจการลงทุนในเทคโนโลยี HPP ต่อไปอีกด้วย

ลงทะเบียนหลักสูตร

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • ผู้ประกอบการ ผู้บริหารและผู้จัดการในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่มองหาเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถต่อยอดหรือเป็นช่องทางในการสร้างผลิตภัณฑ์อาหารใหม่
  • บุคลากรทางการศึกษา นักวิจัยและบุคลากรทั่วไปที่ต้องการเรียนรู้และเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีพาสเจอร์ไรส์ด้วย HPP

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการของเทคโนโลยี HPP ที่ถูกต้อง
  • ได้เรียนรู้และเข้าใจข้อดี ข้อเสียและข้อจำกัดของเทคโนโลยี HPP ที่สามารถช่วยทำให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถพิจารณาแนวทางการต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองหรือสร้างผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ได้
  • ได้มีโอกาสทดลองใช้เครื่อง HPP ระดับห้องปฏิบัติการกับอาหารตัวอย่างประเภทต่างๆ

เนื้อหาประกอบด้วย

  • HPP คืออะไรและมีความโดดเด่นของเทคโนโลยีอย่างไร
  • จะยืดอายุอาหารด้วย HPP ได้อย่างไร
  • ผลิตภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์อะไรที่เหมาะสมสำหรับเทคโนโลยี HPP และจะมีแนวทางการพัฒนาอย่างไร
  • ทดลองจริง สัมผัสจริงกับการถนอมอาหารด้วยเทคโนโลยี HPP

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

ผศ.ดร. ฉัตรภา หัตถโกศล

ผศ.ดร. ฉัตรภา หัตถโกศล

ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร. โศรดา วัลภา

ดร. โศรดา วัลภา

โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

ดร. กุลรภัส วชิรศิริ

ดร. กุลรภัส วชิรศิริ

โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

คุณชายชนก ร่มเย็น

คุณชายชนก ร่มเย็น

บริษัท ทีซัส เฟบิกซ์ ฟู๊ดเทค จำกัด

คุณกฤษฎ์ ลาชโรจน์

คุณกฤษฎ์ ลาชโรจน์

บริษัท ทีซัส เฟบิกซ์ ฟู๊ดเทค จำกัด

ดร. ศิริชัย กิตติวราพงศ์

ดร. ศิริชัย กิตติวราพงศ์

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

รูปแบบการอบรม

ภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ​

วันที่ฝึกอบรม

ระหว่างวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2564

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 19,900 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)​

หมายเหตุ

  • หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน

สถานที่จัดฝึกอบรม

  • วันที่ 1
    โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค
    เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

     

  • วันที่ 2
    โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
    เลขที่ 35 หมู่ 3 เทคโนธานี ถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81897 (ทิพวรรณ)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400