Select Page

หลักสูตรความรู้พื้นฐานระบบผลิตไฟฟ้า
จากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด

 (Fundamental Solar PV Hybrid System: FSH)

 

อบรม Online ผ่านโปรแกรม

Key Highlights

    • เข้าใจกระบวนการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด (Solar PV Hybrid) รวมถึงข้อกำหนดในการเชื่อมต่อ การตรวจสอบ การติดตั้ง และการทำงานของระบบ
    • เรียนรู้การออกแบบ การประยุกต์ใช้งาน และประโยชน์ของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System, PV+BESS)
    • เจาะลึกกรณีตัวอย่างการทำและใช้งาน Solar PV Hybrid ที่ประสบความสำเร็จ
    • ศึกษาดูงานระบบผลิตไฟฟ้าแบบ Solar PV Hybrid ที่ใช้งานอยู่จริง
    • แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และ Solar PV Hybrid

หลักการและเหตุผล

          ในช่วงหลายปีมานี้ ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับความสนใจจากหลากหลายองค์กร รวมทั้งเจ้าของที่อยู่อาศัยที่ต้องการนำไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าในบ้านหรืออาคาร โดยรูปแบบที่นิยมนำมาติดตั้งมี 2 ระบบ คือ ระบบออนกริด (On-Grid) และระบบออฟกริด (Off-Grid) หรือระบบที่เราคุ้นเคย เช่น Solar farm หรือ Solar Rooftop System

 

          ระบบออนกริด (On-Grid) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าแบบเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า โดยมีแผงโซลาร์เซลล์สำหรับผลิตไฟฟ้าจ่ายไฟไปยังกริดไทร์อินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) ที่ต่อเชื่อมกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ร่วมกับระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้า โดยไม่ต้องมีแบตเตอรี่สำรอง ข้อดีของระบบนี้คือ มีแหล่งจ่ายไฟจาก 2 แหล่ง ทำให้ไม่ต้องคำนึงถึง Load การใช้งาน แต่ก็มีข้อเสียคือ ถ้าไฟจากการไฟฟ้าดับ แม้ว่าระบบโซลาร์เซลล์จะยังคงจ่ายไฟได้ปกติ แต่กริดไทร์อินเวอร์เตอร์จะหยุดทำงานทันที เนื่องจากมีเงื่อนไขทางด้านความปลอดภัยที่จะให้แต่กริดไทร์อินเวอร์เตอร์ทำงานก็ต่อเมื่อมีไฟจากการไฟฟ้าเชื่อมต่อเท่านั้น

 

          ส่วนระบบออฟกริด (Off-Grid) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าแบบไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า นิยมใช้ในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีสายไฟฟ้าเข้าถึง โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ (หรืออาจต่อตรงไปที่อุปกรณ์ไฟฟ้าก็ได้) และนำไปใช้งานกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ตามต้องการ ระบบนี้ หากเป็นช่วงที่ไม่มีแสงอาทิตย์หรือมีฝนตกต่อเนื่องกันหลายวัน สามารถผลิตไฟฟ้าได้น้อย อาจส่งผลให้พลังงานไฟฟ้าที่สะสมไว้ในแบตเตอรี่มีไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

 

          ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมาใหม่เป็นรูปแบบไฮบริด (Solar PV Hybrid System) ซึ่งเป็นระบบที่ผสมผสานกันระหว่างระบบออนกริดและระบบออฟกริด โดยระบบนี้หัวใจสำคัญคือไฮบริดอินเวอร์เตอร์ (Hybrid Inverter) ซึ่งเป็นอินเวอร์เตอร์ที่สามารถทำงานร่วมกับสายส่งของการไฟฟ้าและแบตเตอรี่ได้ โดยไฮบริดอินเวอร์เตอร์จะเชื่อมต่อกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่และสายส่งของการไฟฟ้า ไปใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ และเมื่อมีกระแสไฟฟ้าเหลือใช้ ระบบจะทำการชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่สำรอง เพื่อเก็บไว้ใช้ในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์หรือในเวลากลางคืน และถ้าหากยังไม่เพียงพอ ระบบก็จะไปดึงไฟฟ้าจากสายส่งของการไฟฟ้ามาใช้เพิ่มเติมโดยอัตโนมัติ (สามารถตั้งค่าได้) ทำให้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ทำให้ผู้ติดตั้งระบบนี้สามารถบริหารจัดการและลดการใช้งานพลังงานไฟฟ้าได้ดีขึ้น

 

          หลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด (Solar PV Hybrid System) ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด ประโยชน์ที่ได้รับ รวมถึงความรู้เบื้องต้นในการออกแบบและใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน ข้อกำหนดในการเชื่อมต่อ การตรวจสอบ การติดตั้งระบบ การทำงานของระบบ ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข และข้อควรระวังต่างๆ

 

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด (Solar PV Hybrid System) การออกแบบ และประยุกต์ใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงเรียนรู้ข้อกำหนด การตรวจสอบ การติดตั้งระบบ การทำงานของระบบ ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข และข้อควรระวังต่างๆ
    2. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (Best Practices) กับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และศึกษาดูงานเชิงประจักษ์
    3. เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริดอย่างครบถ้วน
  2. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน การออกแบบ และการประยุกต์ใช้งาน
  3. ได้ศึกษาดูงานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริดเชิงประจักษ์
  4. ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และ Solar PV Hybrid System
  5. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานได้

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้ลงทุนหรือผู้ใช้งานติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
  2. ผู้ให้บริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
  3. วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
  4. บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานแสงอาทิตย์

 

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด (Solar PV Hybrid System) และการออกแบบและใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงเรียนรู้ข้อกำหนด การตรวจสอบ การติดตั้งระบบ การทำงานของระบบ ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข และข้อควรระวังต่างๆ รวมจำนวน 18 ชั่วโมง/3 วันทำการ​ ดังนี้

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย และกรณีศึกษา 14 2.5
ศึกษาดูงาน 4
0.5
รวม 18
3 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell System)
      • การออกแบบและใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System, PV+BESS)
      • ข้อกำหนดในการเชื่อมต่อและการตรวจสอบจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
        และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
      • ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด (Solar PV Hybrid System)
      • แลกเปลี่ยนประสบการณ์: กรณีการใช้งาน Solar PV Hybrid
      • ศึกษาดูงานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด

หมายเหตุ: กำหนดการและสถานที่ศึกษาดูงานอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมโดยยังคงเนื้อหาและสาระสำคัญของการอบรมไว้

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) และระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด ทั้งภาครัฐและเอกชน

เกณฑ์การประเมินผล

ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระยะเวลา 3 วัน
ระหว่างวันที่ 16 – 18 สิงหาคม 2564

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 18,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
**พิเศษ!!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 16,200 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

หมายเหตุ

  • กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
  • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • ค่าลงทะเบียนรวมค่าถ่ายทอดสด ค่าเอกสารประกอบการอบรม (soft file) และภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
  • หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
  • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

รูปแบบการจัดอบรม

ถ่ายทอดสด ในระบบ Online ผ่านโปรแกรม ZOOM

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (คุณบรรยงก์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page