Select Page

หลักสูตรการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของระบบผลิตภัณฑ์ รุ่นที่ 2

 (Eco-efficiency Assessment of Product Systems: EAP2)

“Eco-efficiency” is a practical tool for the business sector
to achieve greater value with lower adverse environmental impacts.


By UN ESCAP
https://sustainabledevelopment.un.org/content/documents/785eco.pdf

 

หลักสูตร Eco-efficiency Assessment of Product Systems: EAP

 

การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ผนวกมุมมองของการใช้ทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงาน ทรัพยากร และการจัดการสารเคมีและของเสีย ของการผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ เทียบกับมูลค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ เพื่อสะท้อนไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development: SD) ตามมาตรฐาน ISO 14045 ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินสามารถนำไปเปรียบเทียบสถานภาพขององค์กรตนเองที่แสดงแนวโน้มของการใช้ทรัพยากร พลังงานหรือวัตถุดิบหรือผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อสถานภาพขององค์กรและสามารถนำไปใช้กำหนดบทบาทเชิงนโยบายของกลยุทธ์ขององค์กรสำหรับการดำเนินงานในอนาคตได้ ใช้เป็นกลยุทธ์ด้านการตลาด ส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรในการเป็นผู้นำด้านการพัฒนาด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

ประเทศไทยได้ดำเนินการตามแผนที่นำทาง (Roadmap) การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยมีคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) เป็นผู้ขับเคลื่อนและดูแล ซึ่งได้เห็นชอบแนวทางดำเนินงานในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้สอดรับกับการประชุมในระดับนานาชาติ โดยในปี 2560 สหประชาชาติจัดอันดับ SDGs ให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 55 จาก 150 กว่าประเทศ ดังนั้น คณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจ (PAC) จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินงานเพื่อรองรับตามแนวทางของ กพย. และพิจารณากำหนดตัวชี้วัด “ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency)” เป็นตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้เริ่มการพิจารณาระยะที่ 1 แล้วในปี 2561 ที่ผ่านมา แต่จากผลการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในช่วงระยะที่ 1 มีเพียงไม่กี่หน่วยงานที่ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ จากรัฐวิสาหกิจทั้งสิ้นมากกว่า 50 หน่วยงาน สำหรับในภาคเอกชนได้มีการนำเครื่องมือต่างๆ มาใช้เป็นตัวชี้วัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่สำหรับการใช้เครื่องมือการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก

 

สถาบันวิทยาการ สวทช. ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาหลักสูตร “การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของระบบผลิตภัณฑ์ (Eco-efficiency Assessment of Product Systems)” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของระบบผลิตภัณฑ์ให้กับองค์กรต่างๆ ได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรและสอดรับกับแนวทางการดำเนินงานของประเทศต่อไป

ลงทะเบียนหลักสูตร

Key Highlights

 

  1. เตรียมความพร้อมให้กับองค์กรในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
  2. เข้าใจหลักการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของระบบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน ISO 14045:2012
  3. ฝึกปฏิบัติประเมินเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
  4. แลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์กับวิทยากร/ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ
  5. นำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจขององค์กร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของระบบผลิตภัณฑ์ (Eco-efficiency Assessment of Product Systems) ตามมาตรฐาน ISO 14045:2012
  2. เพื่อส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจให้สามารถดำเนินการตามแนวทางของประเทศไทย
  3. เพื่อส่งเสริมหน่วยงานภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นๆ ให้สามารถนำเครื่องมือไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจขององค์กร

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. มีมุมมองในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากเครื่องมือชนิดใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม
  2. ได้รู้จักตัวชี้วัดในระดับสากล
  3. ได้ตระหนักถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีต่อองค์กรและประเทศ

กลุ่มเป้าหมาย

  1. บุคลากรจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม
  2. วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรภาคเอกชน
  3. นักวิชาการ และบุคคลอื่นๆ ที่สนใจ

โครงสร้างหลักสูตร

เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของระบบผลิตภัณฑ์ (Eco-efficiency Assessment of Product Systems) ตามมาตรฐาน ISO 14045:2012 เรียนรู้ข้อกำหนด การจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการประเมิน ประกอบด้วยการบรรยาย และการฝึกปฏิบัติการ ดังนี้

 

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
 บรรยาย และกรณีศึกษา 12 1.75
 แบบฝึกปฏิบัติ 2 0.25
รวม 14 2 วันทำการ

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

  1. หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment of Products)
  2. ที่มาและความสำคัญของการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency Assessment)
  3. หลักการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรฐกิจ ตามมาตรฐาน ISO 14045:2012
  4. แบบฝึกปฏิบัติ (Workshop)

ระยะเวลาหลักสูตร

ระยะเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 23 – 24 กรกฎาคม 2563

  • วันที่ 23 กรกฎาคม 2563: พื้นฐานหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA)
  • วันที่ 24 กรกฎาคม 2563: หลักการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของระบบผลิตภัณฑ์

ค่าลงทะเบียน

Package รายละเอียด ค่าลงทะเบียน (บาท)
A

หลักสูตรการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของระบบผลิตภัณฑ์ (Eco-efficiency Assessment of Product Systems)
[อบรมระหว่างวันที่ 23 – 24 กรกฎาคม 2563]

พิเศษ!!! ชำระเงินภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 รับส่วนลด 10%
              เหลือชำระเพียง 10,800 บาท

12,000
B

ฝึกอบรมหัวข้อ “หลักการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรฐกิจ”
[อบรมวันที่ 24 กรกฎาคม 2563]

***ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) แล้วเท่านั้น**

7,000

(ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)


หมายเหตุ:
 หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายอักษรอย่างน้อย 7 วันทำการ ก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าวทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน

สถานที่จัดอบรม

โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ เขตดินแดง กรุงเทพฯ

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรฐกิจ

CONTACT

PHONE & E-MAIL

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0-2644-8150 ต่อ 81895 (คุณบรรยงก์),

81904 (คุณสุรีย์)
คุณบรรยงก์ จันทรโคลิกา เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1825 5143
คุณสุรีย์ สุขคู เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ 09 7078 6282
โทรสาร : 0-2644-8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page