Select Page

หลักสูตรการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์
ขององค์กร รุ่นที่ 17

 (Carbon Footprint for Organization: CFO17)

หลักการและเหตุผล

          การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การใช้พลังงาน การขนส่ง การทำเกษตรกรรมและปศุสัตว์ การตัดไม้ทำลายป่า การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาสำคัญที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างตื่นตัวที่จะดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น หลายประเทศมีการคำนวณหาปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์เพื่อติดตามตรวจสอบและรายงานผลการปล่อยหรือดูดกลับแก๊สเรือนกระจก ตลอดจนพยายามที่จะหาแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ

 

          การประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF) เป็นวิธีการหนึ่งที่แสดงข้อมูลการปล่อยและดูดกลับแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรทั้งการผลิตและการบริการขององค์กร สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ และนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับหน่วยงาน บริษัท โรงงาน ระดับอุตสหากรรม และระดับประเทศ อีกทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือประเมินการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้น และช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการและธุรกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมในกรณีที่ภาครัฐต้องรายงานปริมาณการปล่อยและดูดกลับแก๊สเรือนกระจก (Greenhouse Gas Reporting) ขององค์กรต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของประเทศไทย (อ้างอิงจากเอกสารแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรของ อบก.)

 

          สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาหลักสูตร “การประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO)” ขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรของประเทศไทยขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และสามารถประเมินหาปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรได้ และนำไปสู่การกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรของประเทศไทยของ อบก.
    2. เพื่อให้สามารถคำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรได้
    3. เพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการวิเคราะห์หาแหล่งปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร (Hot Spot) และหาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกขององค์กรได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
    4. เพื่อขยายผลการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรของประเทศไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและธุรกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. เข้าใจหลักการและวิธีการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรของประเทศไทยของ อบก. และสามารถคำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรได้
  2. สามารถปรับใช้ความรู้ที่ได้รับในการวิเคราะห์หาแหล่งปลอยแก๊สเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร (Hot Spot) และหาแนวทางการกำหนดมาตรการหรือการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  3. ขยายผลการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรของประเทศไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรทั้งในประเทศไทยและในเวทีการค้าโลก​

กลุ่มเป้าหมาย

  1. บุคลากรในระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ในหน่วยธุรกิจ หน่วยการผลิต หรือหน่วยกิจกรรม ของบริษัท ห้างร้าน สำนักงาน กิจการ โรงงาน หน่วยราชการ หรือสถาบันที่ต้องการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร และนำผลการประเมินไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจหรือกำหนดมาตรการลดแก๊สเรือนกระจก
  2. ผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างทีมงานด้านการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ภายในองค์กร
  3. ผู้ที่มีบทบาทรับผิดชอบต่อข้อสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้การสนับสนุนการจัดทำข้อมูลแก๊สเรือนกระจกขององค์กร
  4. ผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบ ผู้ควบคุมหรือผู้ดูแลโครงการแก๊สเรือนกระจกขององค์กร

โครงสร้างหลักสูตร

          ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับหลักการและวิธีการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรของประเทศไทยของ อบก. พร้อมกรณีศึกษา/ตัวอย่างการประเมิน และฝึกปฏิบัติคำนวณหาปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร โดยมีองค์ประกอบของเนื้อหาหลักสูตร ดังนี้

 

    1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพรินต์
    2. กรณีศึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ (Case Study)
    3. เกณฑ์และวิธีการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรของประเทศไทยของ อบก.
    4. รายละเอียดเอกสารสำหรับการขอขึ้นทะเบียน CFO ตามรูปแบบของ อบก.
    5. กิจกรรมกลุ่มฝึกปฏิบัติการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรของประเทศไทยของ อบก.

เกณฑ์การประเมินผล

          ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

วิทยากรประจำหลักสูตร

รศ.ดร. หาญพล พึ่งรัศมี

รศ.ดร. หาญพล พึ่งรัศมี

TGO's Registered Validation and Verification Body

ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 11 – 12 พฤษภาคม 2565​
ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการ
รวมจำนวนทั้งหมด 14 ชั่วโมง หรือ 2 วัน

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 10,700 บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยบาทถ้วน)
รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม​

**พิเศษ!!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 9,630 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

หมายเหตุ:

    1. ผู้เข้าร่วมอบรมต้องส่งหลักฐานแสดงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 ครบ 2 เข็มแล้ว พร้อมผลการตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
    2. เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
    3. หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายอักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าวทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน

สถานที่จัดฝึกอบรม

โรงแรมไอบิส สไตล์ กรุงเทพ รัชดา​
เลขที่ 212 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (คุณบรรยงก์)
เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 08 1825 5143
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81894 (คุณนพมล)
เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 08 5324 2684
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page