Select Page

หลักสูตรศิลปะการใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูล
ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล รุ่นที่ 5

(Art of Data Science: ADS)

Key Highlights

    • สร้างความเข้าใจในหลักการของวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการประยุกต์ใช้ในองค์กร
    • เรียนรู้เครื่องมือและเทคนิคการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ข้อมูล
    • นำเสนอตัวอย่างการใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลในองค์กรและการวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก
    • สร้างมุมมองด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าเป้าหมายและสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ
    • ฝึกปฏิบัติการตั้งคำถามจากข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิทยาศาสตร์ข้อมูล

หลักการและเหตุผล

          เนื่องจากการเกิดขึ้นของปริมาณข้อมูลมหาศาลในปัจจุบันที่นับวันจะมีมากขึ้น และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงแต่ปริมาณการเพิ่มขึ้นของข้อมูลเท่านั้น ความหลากหลายของรูปแบบการเก็บข้อมูลก็เพิ่มขึ้นตลอดด้วย ข้อมูลที่เป็นข้อความในอดีต ก็มีการเพิ่มแฮชแท็กต่างๆ เพื่อให้สามารถค้นหาได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้น ข้อมูลที่เป็นรูปหรือคลิปวิดีโอ ก็สามารถใช้เทคนิคอื่นๆ เพื่อแปลงเสียงหรือภาพ ให้เป็นข้อมูลที่มีความหมายมากขึ้นได้ แม้กระทั่งข้อมูลที่มีความยาวไม่มาก เช่น ข้อความสั้น รูปถ่ายที่อาจไม่มีความหมายในตัวเอง ก็สามารถนำมาใช้ร่วมกับโซเชียลเน็ตเวิร์ก (Social Network) เพื่อทำให้ข้อมูลเหล่านั้นมีความหมายมากขึ้นได้

 

          เมื่อข้อมูลมีปริมาณมากขึ้น และมิติของข้อมูลมีหลายด้านขึ้น การทำงานกับข้อมูลเหล่านั้น จึงมีแง่มุมที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่การประมวลผลข้อมูลที่ถูกจัดเป็นโครงสร้าง (Structured Data) เท่านั้น ข้อมูลที่ไม่ได้ถูกจัดเป็นโครงสร้าง (Unstructured Data) ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ ที่อาจน่าสนใจไม่แตกต่างจากข้อมูลที่ถูกจัดเป็นโครงสร้าง

 

          วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่อย่างมหาศาลมาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจ ทั้งด้านการตลาด การตัดสินใจ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การขับเคลื่อนทิศทางของผลิตภัณฑ์ในอนาคต หรือเพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กร ทั้งด้านการวางกลยุทธ์ขององค์กร การบริหารงานองค์กร การพยากรณ์และการเข้าใจถึงปัญหาและโอกาสจากข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ ซึ่งการนำวิทยาศาสตร์ข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในข้อมูล การเห็นมุมมองในข้อมูลที่จะสามารถดึงมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจหรือองค์กร และการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ทั้งเจ้าของข้อมูล ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูล และนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Scientist) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

 

          สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอานาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร “ศิลปะการใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Art of Data Science: ADS) ขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Data Science และการประยุกต์ใช้ Data Science เพื่อการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้งหลักการพื้นฐานและเทคนิคการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งในระดับผู้บริหารองค์กรและผู้ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลได้อย่างเข้าใจ สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือธุรกิจมากที่สุด

 

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์

  1. มีความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  2. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  3. เข้าใจในรูปแบบการนำวิทยาศาสตร์ข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
  4. สามารถสร้างโครงการที่น่าสนใจบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ข้อมูล

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้บริหารในองค์กรที่สนใจนำวิทยาศาสตร์ข้อมูลไปใช้กับองค์กรตนเอง
  2. ผู้บริหารที่มีหน้าที่ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
  3. นักวิเคราะห์ข้อมูล
  4. นักพัฒนาที่สนใจการวิเคราะห์ข้อมูล

เนื้อหาหลักสูตร

    • ภาพรวมของวิทยาศาตร์ข้อมูล (Overview of Data Science)
    • ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Big Data ในองค์กร
    • ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Data Science ในเชิงการวิเคราะห์พื้นที่
    • เครื่องมือที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
    • การวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก
    • ฝึกปฏิบัติการทำวิทยาศาสตร์ข้อมูล: ศึกษา ตั้งคำถาม และวิเคราะห์ข้อมูล

หมายเหตุ:

    • สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตร วิทยากร ตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
    • ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

คณาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 31 กรกฏาคม – 2 สิงหาคม 2562
เวลา 09.00 – 16.00 น.
(รวมระยะเวลาอบรม 3 วัน)

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 22,500 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

หมายเหตุ

  • กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 19 กรกฏาคม 2562
  • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
  • หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 10 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
  • ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
  • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดฝึกอบรม

รงแรมเมอร์เคียว กรุงเทพ สยาม
เลขที่ 927 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81898 (คุณฉวีวรรณ)
          0 2644 8150 ต่อ 81891 (คุณนิพัฒน์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page