Select Page

หลักสูตรโอกาสทางธุรกิจของแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
รุ่นที่ 2

 (Alternative Battery Business Opportunities: ABO2)

Key Highlights

    • ได้รับความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ และการประยุกต์ใช้งาน
    • รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและการส่งเสริมด้านแบตเตอรี่ของภาครัฐ
    • เห็นโอกาสการลงทุนในแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่จากผู้มีประสบการณ์จริง
    • ศึกษาดูงานการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
    • แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่

หลักการและเหตุผล

          ปัจจุบันแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมมากในเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่อุปกรณ์พกพาขนาดเล็กจนถึงอุปกรณ์ขนาดใหญ่ เช่น ในยานยนต์ไฟฟ้า ในระบบกักเก็บพลังงาน เนื่องจากมีสมรรถนะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น แต่ด้วยปัญหาด้านต่าง ๆ ของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เช่น ต้นทุนที่สูงมาก การติดไฟและระเบิดได้ การใช้ส่วนประกอบโลหะหนักที่เป็นพิษ และประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแร่ลิเธียม ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ด้วยเหตุนี้แบตเตอรี่ทางเลือกใหม่จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแบตเตอรี่สังกะสีไอออนและแบตเตอรี่โซเดียมไอออน เพราะประเทศไทยมีแหล่งแร่สังกะสี (ZN) และแร่โซเดียม (NA) ในปริมาณมากและราคาถูก อีกทั้งแร่ทั้งสองชนิดนี้มีความปลอดภัย ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และแบตเตอรี่ทั้งสองชนิดนี้สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ง่าย

 

          นอกจากนี้ธุรกิจด้านแบตเตอรี่ยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างจริงจัง เพราะนอกจากเป็นพื้นฐานสำคัญในอุตสาหกรรมสมัยใหม่แล้ว ยังมีเรื่องความมั่นคงของประเทศ ซึ่งได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) เพราะการพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพียงชนิดเดียวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ

 

          จากเหตุผลดังกล่าว สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต จึงได้พัฒนาหลักสูตรโอกาสทางธุรกิจของแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ (Alternative Battery Business Opportunities) ขึ้น เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ การประยุกต์ใช้งาน โอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ แนวโน้มและทิศทางในอนาคต และการประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ
    2. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและการส่งเสริมด้านแบตเตอรี่ โอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
    3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและใช้งานแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ในการเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. ได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแบตเตอรี่แบบดั้งเดิม และแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ แนวโน้มและทิศทางในอนาคต และการประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ
  2. ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและการส่งเสริมด้านแบตเตอรี่จากภาครัฐ
  3. ได้เปิดมุมมองและเห็นโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
  4. ได้ศึกษาดูงานเชิงประจักษ์กระบวนการผลิตต้นแบบแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
  5. ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้านแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่

กลุ่มเป้าหมาย

  1. นักลงทุน/ผู้ประกอบการ ที่สนใจเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก และโอกาสทางธุรกิจ
  2. ผู้ประกอบธุรกิจด้านพลังงาน ที่ต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ยั่งยืน
  3. ผู้บริหารจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานและระบบกักเก็บพลังงาน
  4. นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่สนใจการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
  5. วิศวกร นักวิจัย นักวิชาการ ที่ทำงานด้านพลังงานและระบบกักเก็บพลังงาน

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ การประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ โอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ ประกอบด้วยการบรรยาย กรณีศึกษา การเสวนา และการศึกษาดูงาน ​ดังนี้

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย กรณีศึกษา และการเสวนา 6 1.0
ศึกษาดูงาน 3 0.5
รวม 9
1.5 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      • ความสำคัญของแบตเตอรี่ในปัจจุบัน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแบตเตอรี่ และแนวโน้มการพัฒนาแบตเตอรี่ในอนาคต
      • เทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ โอกาสทางธุรกิจ และการลงทุน
      • การเสวนา “นโยบายและการส่งเสริมของภาครัฐด้านแบตเตอรี่”
      • การเสวนา “โอกาสและการลงทุนในแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ในประเทศไทย”
      • การศึกษาดูงาน “การวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่”

หมายเหตุ: กำหนดการและสถานที่ศึกษาดูงานอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมโดยยังคงเนื้อหาและสาระสำคัญของการอบรมไว้

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระยะเวลา 2 วัน
ระหว่างวันที่ 13 – 14 มีนาคม 2567

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 10,700​ ​บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
**พิเศษ!!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป
รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 9,630 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

หมายเหตุ

  • กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 6 มีนาคม 2567
  • ผู้เข้าร่วมอบรมต้องส่งหลักฐานแสดงการตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
  • เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
  • หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายอักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าวทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
  • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดฝึกอบรม

โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

เกณฑ์การประเมินผล

ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตร
จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (คุณบรรยงก์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page